ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 161
ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัต ทรงสนพระทัยติดตามข่าวคราวของมโหสถอยู่ทุกระยะ เมื่อทรงสดับว่า บัดนี้ ขบวนของมโหสถบัณฑิตเข้าสู่ภายในเมืองแล้ว ท้าวเธอก็ยิ่งทรงโสมนัสยินดี พระพักตร์ผ่องใสด้วยทรงดำริว่า “มโหสถเอย เจ้าดิ้นรนมาหาคมดาบของข้าแท้ๆ อีกไม่ช้าข้าก็จะได้เห็นหลังของเจ้าล่ะ เมื่อเจ้ามา วิเทหราชก็ต้องมาแน่"
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 160
ทันทีที่เหยียบเท้าก้าวแรก ลงบนดินแดนของฝ่ายศัตรู มโหสถก็ได้เริ่มต้นกำหนดแผนการไว้ในใจ คำนวณนับระยะทางที่ก้าวเดิน การก้าวเดินแต่ละก้าวในแดนศัตรู เป็นการวัดระยะทางเพื่อให้ทราบว่ามีระยะทางจากนี้ถึงนี้ใกล้ไกลเพียงใด ทางใดสะดวกปลอดภัย บริเวณใดควรสร้างอุโมงค์ บริเวณใดควรเป็นที่ตั้งของพระนคร และบริเวณใดควรเป็นที่ตั้งของพระราชนิเวศน์หลังใหม่
เจดีย์เพื่อสันติภาพที่ Dhauli
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - ไขปริศนาธรรม
พระพุทธองค์ผู้รู้แจ้งโลก ตรัสตอบว่า “บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพาน ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้ปัญญา บุคคลเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้ทำอะไรเหมาะสม ไม่ทอดธุระ ขยันหมั่นเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้ คนย่อมได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ บุคคลใดประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ บุคคลนั้น ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก”
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 60
อาจารย์เสนกะถูกมโหสถเย้ยกลับด้วยถ้อยคำที่เชือด เชือนเช่นนั้น ก็รู้สึกขุ่นเคืองใจอยู่ไม่น้อย แต่ก็พยายามสกัดกั้นอารมณ์นั้นไว้ไม่แสดงออก เพื่อให้สมกับที่ตนเป็นผู้มีอาวุโสกว่า ครั้นแล้วก็ได้กราบทูลท้าวเธอต่อไปว่า “ขอเดชะ มโหสถยังเด็กเหลือเกิน ปากก็ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม ผ่านโลกมาเพียงไม่กี่ปี แล้วเธอจะรู้อะไร พระพุทธเจ้าข้า”
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ต้นแบบแห่งความดี
เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี การสร้างบารมีเป็นงานที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ พระบรมโพธิสัตว์ในกาลก่อนท่านทำอย่างนี้ คือสร้างบารมีไปจนกว่าบารมีจะเต็มเปี่ยม ได้บรรลุจุดหมายปลายทางของชีวิต ดังนั้น เราเกิดมาภพชาติหนึ่ง ก็เพื่อสั่งสมบุญบารมีเท่านั้น บุญที่เราได้ทำไว้ดีแล้ว จะเป็นเสบียงในการเดินทางไกลในสังสารวัฏ ทำให้เรามีความสุขตลอดเส้นทางของชีวิต
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - การให้ที่มีผลมาก (๒)
"ดูก่อนคฤหบดี เวลามพราหมณ์ ก็คือเราตถาคตนี่แหละ เราแม้เมื่อให้ทานมากมายเห็นปานนั้น ก็ไม่ได้มีบุคคลผู้สมควรจะมารับทักษิณาทานของเรา แม้เพียงคนเดียว ถึงกระนั้นก็ส่งผลให้ได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เป็นเวลายาวนาน ส่วนท่านได้ให้ทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นับว่าได้โอกาสอันเลิศแล้ว เพราะฉะนั้น จงยินดีในการให้ทานต่อไปเถิด"
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - ศิลปะำในการดำรงชีวิต
ชายหนุ่มผู้มีศรัทธา เขาตั้งใจอุปัฏฐากบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ตลอดครบถ้วนไตรมาส บุญใหญ่ตลอด ๓ เดือนทำให้เขาได้มาบังเกิดเป็นบุตรเศรษฐี มีวรรณะผ่องใส มีฝ่ามือฝ่าเท้าแดงงามเหมือนสีดอกหงอนไก่ ต่อมาได้ออกบวชประพฤติธรรม ในที่สุดก็บรรลุอรหัตตผลอันเลิศ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - มหาพรหมผู้เห็นผิด
พระบรมศาสดาตรัสเตือนพรหมตรงๆ ว่า "พกพรหม ผู้เจริญ ตัวท่านกำลังตกอยู่ในอำนาจของอวิชชา เพราะได้พูดสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง กล่าวถึงธรรมที่ไม่อาจนำออกจากทุกข์ว่า เป็นธรรมที่นำออกจากทุกข์ได้ ท่านกล่าวเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ไม่สมควรแก่ท่านเลย"
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - สมบัติเคียงคู่ผู้มีบุญ
จะเห็นได้ว่า ใครมีบุญ สมบัติจะไปอยู่กับคนนั้น นายควาญช้างเป็นผู้สั่งสมบุญไว้ดีแล้วในกาลก่อน บุญนั้นจึงส่งผลให้เขาได้เป็นพระราชา เหมือนดังที่พระบรมศาสดาได้ตรัสพระคาถาในสิริชาดก ติกนิบาตว่า